สถิติ
เปิดเมื่อ9/11/2011
อัพเดท21/09/2012
ผู้เข้าชม97871
แสดงหน้า117863
บทความ
ข้อมูลส่วนตัว
ข้อมูลส่วนตัว
การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ศาสตร์
การประชาสัมพันธ์ศาสตร์
พรบ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปีพุทธศักราช 2550
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
คำอธิบายรายวิชา
คำอธิบายราชวิชา
บทที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
บทที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
บทที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 เรื่อง การประเมินผลการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 เรื่อง การประเมินผลการประชาสัมพันธ์
บทที่ 9 เรื่อง คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 9 เรื่อง คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 10 เรื่อง การศึกษาดูงาน/การฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 10 เรื่อง การศึกษาดูงาน/การฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
สร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้ง่ายๆ
สร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้ง่ายๆ ด้วย Myreadyweb.com
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์

21/09/2012 05:42 เมื่อ 21/09/2012 อ่าน 8715 | ตอบ 3
สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
หน่วยการเรียนที่ 2   เรื่อง  ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์      
 
  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
             เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
             ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้  
2.    บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศได้
3.    เปรียบเทียบพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในอดีตและปัจจุบันได้
             ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม    จริยธรรม  และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A)  เพื่อให้นักเรียนสามารถ
              1.     มีค่านิยมพื้นฐาน   5   ประการ  (ง 2.1)
              2.     มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
              3.      มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต    และ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นมาและวิวัฒนาของการประชาสัมพันธ์
2.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.    สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
              สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
           มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
________________________________________________________________________________________________________________
บทที่ 2
ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์

ประวัติและพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์
 
                        การประชาสัมพันธ์ไม่ได้เริ่มต้นกำเนิดมาจากสำนักงานเผยแพร่หรือตัวแทน หนังสือพิมพ์เพียงลำพังอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะความพยายามของมนุษย์ในการที่จะพยายามติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น รวมทั้งการให้ความสำคัญแก่พลังประชามติ (Public Opinion) นั้น ได้มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ซึ่งจะแตกต่างกันที่การใช้เทคนิค เครื่องมือ และสื่อการประชาสัมพันธ์ ความชำนาญเฉพาะด้าน และความรอบรู้ที่กว้างไกลกว่าในอดีตเท่านั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่า มนุษย์รู้จักการใช้ประชาสัมพันธ์กันมานานตั้งแต่ยุคกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรก โดยมนุษย์รู้จักการใช้ประชาสัมพันธ์ในกลุ่มสังคมของตน ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มรู้จักใช้วิธีการประชาสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นผู้ใต้ บังคับบัญชาที่อยู่ภายใต้การปกครองของตน โดยใช้วิธีการและนโยบายที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดี รวมทั้งการสร้างความสามัคคีขึ้นในหมู่เหล่าของตน ซึ่งวิธีการที่ผู้นำในสมัยโบราณใช้ในการติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์กับ สมาชิกภายใต้การปกครองคือ การชี้แจงบอกกล่าวให้ทราบ การโน้มน้าวใจ เพื่อสร้างความสามัคคีและความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สำหรับเครื่องมือหรือสื่อการประชาสัมพันธ์ในยุคนั้น  ผู้นำหรือหัวหน้าต่างๆ จะใช้สัญญาณต่างๆ ควันไฟ เสียงกลอง ฯลฯ รวมทั้งการใช้คำพูด กริยาท่าทางต่างๆ เพราะในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เช่นในปัจจุบัน

                        ก่อนที่การประชาสัมพันธ์จะถูกยกฐานะเป็นวิชาชีพอย่างในปัจจุบันนี้ หลักการประชาสัมพันธ์ และศิลปะการประชาสัมพันธ์ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้เคยใช้ปฏิบัติมา แล้วทั้งสิ้น  ซึ่งก่อนที่จะแยกศึกษาถึงประวัติและพัฒนาการการประชาสัมพันธ์ของต่างประเทศ และของประเทศไทยแล้ว สามารถแยกประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์ในภาพรวมได้ 6 ยุค สรุปได้ดังนี้ (วีระ  อรัญมงคล : 2538 : 10-30)

                        1.การประชาสัมพันธ์ยุคโบราณ     มนุษย์ ได้รู้จักวิธีการประชาสัมพันธ์มาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เมื่อมนุษย์มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และมีหัวหน้าเป็นผู้นำกลวิธีต่างๆ จึงถูกนำมาใช้ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มของตนเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ด้วยการสร้างความเชื่อถือความเลื่อมใส ความศรัทธาในตัวหัวหน้าหรือผู้นำให้เป็นที่ประจักษ์ว่าหัวหน้าเป็นบุคคล ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการอาศัยไสยศาสตร์และลัทธิบูชาวิญญาณเทพเจ้าตลอดจนการ ประกอบพิธีกรรมของพวกพ่อมดหมอผีต่างๆ ต่อมาเมื่อสังคมเจริญก้าวหน้าก็มีวิวัฒนาการของการสื่อสาร โดยใช้วิธีการชักจูงใจหรือโน้มน้าวในมากขึ้น  มีการสร้างเทวสถาน  การตีเกราะเคาะไม้  ตีฆ้องร้องป่าว    การแต่งเพลงปลุกใจ การแต่งนิยายความศักดิ์สิทธิ์และวีรกรรมของบรรพบุรุษ เป็นต้น ซึ่งการนำการประชาสัมพันธ์ไปใช้ในสมัยนั้น เพื่อการชี้แจงบอกกล่าวให้สมาชิกในกลุ่มได้ทราบ และสร้างความเข้าใจให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี หรือเพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีและความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่คณะของตน เครื่องมือหรือสื่อการประชาสัมพันธ์ยุคโบราณจึงเป็นแบบง่ายๆ เช่น คำพูด กริยาท่าทาง สัญญาต่างๆ เป็นต้น

                        2. การประชาสัมพันธ์ยุคภาพเขียน  ใน สมัยโบราณก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร นั้น มนุษย์รู้จักการเขียนภาพเพื่อสื่อความหมายและประชาสัมพันธ์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในประเทศต่างๆ ซึ่งพบภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ เช่น ในประเทศฝรั่งเศสและสเปน (ประมาณ 25,000 - 30,000 ปี) นอกจากนี้ยังค้นพบภาพเขียนสีดังกล่าวในประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยด้วย โดยค้นพบภาพสีบนผนังถ้ำและภาพสลักบนผนังถ้ำมากมาย ซึ่งเป็นภาพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุเก่าแก่นับเป็นพันๆ ปี ล่วงมาแล้ว ภาพเขียนเหล่านี้แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การทำสงคราม ชีวิตธรรมชาติของสัตว์ป่า    ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในสมัยนั้น  ซึ่งภาพเขียนเหล่านี้ เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและสื่อความหมายให้แก่กันนั่นเอง

                        3. การประชาสัมพันธ์ยุคตัวอักษร การ ที่มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรในการสื่อสารนั้นเป็นก้าวสำคัญอีกขั้นหนึ่งแห่ง ความเจริญด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ เพราะทำให้การเผยแพร่เป็นไปได้อย่างกว้างขวาง    จากเดิมที่ผู้นำหรือหัวหน้าในยุคนั้นใช้การบอกกล่าวชี้แจงและพูดโน้มน้าวใจ แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองหรือลูกน้องของตนให้เชื่อและคล้อยตาม  หากยังไม่เชื่อก็จะเปลี่ยนมาใช้อำนาจ และการข่มขู่ให้กลัว ถ้าหากใช้วิธีดังกล่าวแล้วยังไม่สำเร็จก็จะใช้วิธีอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เหนือธรรมชาติทั้งหลาย และในยุคที่มนุษย์คิดประดิษฐ์อักษรสำหรับเขียนได้นี้เอง ทำให้วิธีการโน้มน้าวชักจูงใจด้วยคำพูดที่เคยใช้มาแต่เดิมเริ่มเปลี่ยนไป มีการใช้วิธีการเขียนเพื่อโน้มน้าวชักจูงใจเข้าเสริมอีกแรงหนึ่ง รวมทั้งการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์และโน้มน้าวชักจูงใจในรูปแบบต่างๆ มากมาย และในยุคนี้เองที่บทบาทของประชามติเริ่มเกิดขึ้น ผู้นำหรือผู้ปกครองเริ่มให้ความสนใจและความสำคัญของประชามติ ยุคนี้นับว่าเป็นยุคที่มีความตื่นตัวทางด้านการประชาสัมพันธ์อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำในยุคนี้ได้ใช้การบันทึกตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการ ประชาสัมพันธ์ด้วย เช่น การจารึกถ้อยคำบนกำแพงเมืองปอมเปอี เพื่อกระตุ้นชักชวนให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง    หรือในสมัยของซีซาร์ได้ริเริ่มการติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชน โดยออกเป็นประกาศแถลงข่าวประจำวันขึ้น เพื่อให้ข่าวสารต่างๆ ของทางราชการและส่วนรวม เช่น การประกาศกฎหมายระเบียบข้อบังคับต่างๆ และประกาศข่าวประจำวัน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเกิด การตาย การแต่งงาน ภัยธรรมชาติ เป็นต้น

                        4. การประชาสัมพันธ์ยุคบทกวีนิพนธ์และบทประพันธ์ ในสมัยกรีกโบราณได้มีพวกกวี หรือนักประพันธ์ ร้อยกรอง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนต่างๆ เป็นผู้นำเอาเทคนิควิธีการประชาสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำไปเป็นเครื่องมือในการสร้างประชามติ ซึ่งลักษณะของการประพันธ์เป็นบทร้อยกรอง หรือบทกวีนิพนธ์ หรือมหากาพย์ที่มีความไพเราะเพราะพริ้ง มีจังหวะเร้าใจ จดจำได้ง่าย ส่วนในสมัยโรมนั้นก็ได้รับอิทธิพลจากกรีก และนำเอาเทคนิคและวิธีการประชาสัมพันธ์ โดยการใช้บทกวีนิพนธ์และร้อยกรองของกรีกไปใช้ในการสร้างประชามติเช่นกัน โดยคำประพันธ์และกวีนิพนธ์ร้อยกรองต่างๆ จะมีเนื้อหาที่บรรยายถึงความสวยงาม ความสวยและความร่มรื่นของภูมิประเทศในชนบท ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในกรุงโรมที่อยู่กันหนาแน่นได้อพยพออกไปจากกรุงโรม และให้ไปตั้งหลักแหล่งที่อยู่ใหม่ในชนบท

                        5.    การประชาสัมพันธ์ยุคเครื่องพิมพ์         ใน ปี  ค.ศ. 1454-1455  จอห์น กูเตนเบอร์ก (John Gutenburg) ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพิมพ์ครั้งแรกจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์นี้ ทำให้การประชาสัมพันธ์เจริญรุดหน้าไปอย่างมากมาย สามารถเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ได้ในรูปของหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ และสามารถเข้าถึงประชาชนได้เป็นจำนวนมาก  ในรูปของสิ่งพิมพ์และหนังสือพิมพ์ต่างๆ การพิมพ์ในยุคนี้จึงมีผลต่อการประชาสัมพันธ์และสามารถโน้มน้าวประชาชนทั้ง ด้านการเผยแพร่ลัทธิศาสนา การสร้างอิทธิพลต่อประชามติเพื่อประโยชน์ด้านการเมืองการปกครองรวมทั้งทำให้ เกิดการติดต่อสื่อสารสองทาง (Two - way Communication) ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ซึ่งในยุคของเครื่องพิมพ์นี้ ทำให้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ไปสู่ประชาชนอย่างกว้างขวางมากขึ้น เป็นผลดีต่อการบริหารประเทศและการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีหนังสือพิมพ์เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์

                        6. การประชาสัมพันธ์ยุคปัจจุบัน  การ ประชาสัมพันธ์ในยุคนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่โดยเริ่มมาตั้งแต่ มนุษย์ได้ปรับปรุงพัฒนาและประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือสื่อสารใหม่ๆ มาช่วยในการเผยแพร่ให้งานประชาสัมพันธ์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ ฯลฯ เครื่องมือและสื่อเหล่านี้ทำให้งานประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันรวดเร็วฉับไวและ สามารถครอบคลุมในบริเวณกว้างขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการประชาสัมพันธ์ที่จะบังเกิดประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ

ประวัติและพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ
             วิชาการประชาสัมพันธ์นั้นถือกำเนิดในต่างประเทศ และแพร่หลายไปทั่ว ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษนับเป็นประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นแม่แบบของการ ประชาสัมพันธ์ในยุคต่อๆมา ดังนั้นวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ทั้งสองประเทศนี้ผู้ที่เรียนวิชาการ ประชาสัมพันธ์ต้องศึกษา
                        1)    การประชาสัมพันธ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประชาชนชาวอเมริกันรู้จักใช้วิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ มานานก่อนที่จะก่อตั้งเป็นประเทศ โดยส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในวงการธุรกิจการค้า เช่น การขายที่ดิน การขยายทุน เป็นต้น ทั้งนี้เพราะชาวอเมริกันในสมัยเริ่มแรกก่อนตั้งประเทศผู้คนได้อพยพมาจากหลาย ประเทศด้วยกัน ส่วนมากมาจากประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ผู้เดินทางไปจับจองที่ดินเพื่อตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญคือชาว   พูริเท็น (Puritan) จากประเทศอังกฤษ กลุ่มชนเหล่านี้ดิ้นรนมาแสวงหาเสรีภาพในการนับถือศาสนาทุกคนที่มาต่างก็มี ความมุ่งมั่น ความหวังและความศรัทธาในเสรีภาพของการแสดงออกในลักษณะการทำหนังสือพิมพ์ไป ด้วย ซึ่งต่อมามีการตั้งโรงพิมพ์ และพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรกขึ้นในราวปี ค.ศ. 1704  คือ บอสตัน นิวส์เลตเทอร์ (The Boston News Letter)
                        สหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนที่ชาวยุโรปเรียกว่า โลกใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่มาจากประเทศอังกฤษ ดินแดนแห่งนี้ถูกอังกฤษครอบครองแต่ก็ให้อิสระในการปกครองตนเอง  ในด้านเศรษฐกิจนั้นถูกอังกฤษควบคุมไว้อย่างเด็ดขาด มีการเก็บภาษีอากรอย่างเข้มงวดมาก ชาวอเมริกันจึงพากันต่อต้านทั้งทางตรงและทางอ้อม ในที่สุดก็เกิดสงครามอิสรภาพขึ้น รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาจึงได้ประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776  ต่อมาได้เกิดสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส สงครามอิสรภาพจึงได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1783  ทำให้อังกฤษต้องยอมรับอภิปไตยของสหรัฐอเมริกา หลังจากสหรัฐอเมริกาได้หลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษความเจริญของ ประเทศ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การสื่อสารคมนาคมก็ได้รับการปฏิรูปมีการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องทุนแรงต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และในสมัยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นเพราะมีการประกาศเลิกทาส และมีการทำสงครามระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ผู้ที่ต่อต้านการค้าทาส ส่วนมากมาจากรัฐฝ่ายเหนือ และฝ่ายเหนือก็เป็นฝ่ายชนะในที่สุด ในช่วงเวลาการทำสงครามไม่ว่าจะเป็นสงครามกู้อิสรภาพ หรือสงครามกลางเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเอาเทคนิคการประชาสัมพันธ์มาใช้เพื่อสนับสนุนฝ่ายตน เช่น การออกประกาศแถลงการณ์ การปลุกเร้าประชามติ การใช้หนังสือพิมพ์ การพูดในที่ชุมชน เป็นต้น
                        ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการประชาสัมพันธ์ที่เห็นได้เด่นชัด เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นการเริ่มเข้าสู่การประชาสัมพันธ์ในแนวคิดสมัยใหม่ โดย ไอวี เลดเบตเตอร์ ลี (Ivy Ledbetter Lee) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอวี ลี (Ivy Lee) เป็นนักหนังสือพิมพ์หนุ่มที่บุกเบิกงานด้านการประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง โดยเสนอแนวความคิดที่ถูกต้องของการประชาสัมพันธ์ว่า “ไม่ควรปิดหู ปิดตาประชาชน หรือเพิกเฉยละเลยต่อประชาชน” ไอวี ลี นับได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางพื้นฐานด้านการดำเนินงานประชา สัมพันธ์ในปัจจุบัน และต่อมาได้จัดตั้งสำนักงานรับจ้างดำเนินงานประชาสัมพันธ์ขึ้นมา และรับจ้างดำเนินการธุรกิจด้านการประชาสัมพันธ์ต่างๆ แก่สถาบัน องค์การทั่วไป ไอวี ลี จึงถูกยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการประชาสัมพันธ์”

                        2)    การประชาสัมพันธ์ของประเทศอังกฤษ  วีระ อรัญมงคล ได้เขียนสรุปไว้ดังนี้ (2538 : 14) การประชาสัมพันธ์ของประเทศอังกฤษเริ่มขึ้นจากภาคเอกชนก่อนโดยมี โธมัส เจ ลิปตัน (Thomas J Lipton) ชาวสก็อตแลนด์ ได้นำเอาวิธีการโฆษณากิจการแบบสร้างข่าวเกี่ยวกับบริษัทมาจากประเทศสหรัฐ อเมริกาเพื่อเผยแพร่ให้หนังสือพิมพ์ลงข่าว ส่วนการประชาสัมพันธ์ภาคราชการของประเทศอังกฤษ กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้แผ่นปลิว และการแสดง ปาฐกถาเคลื่อนที่เพื่อเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการประกันสุขภาพสังคมซึ่งจะ ประกาศใช้ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้นในปี ค.ศ. 1914  กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้ขยายงานด้านโฆษณาเผยแพร่มากขึ้น และมีการตั้งกระทรวงโฆษณา แต่ก็ถูกล้มเลิกไปเมื่อสงครามสิ้นสุดลง สำหรับกระทรวงที่มีภาระหน้าที่ให้บริการประชาชนจะมีการตั้งแผนกประชา สัมพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะ และมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อรัฐมนตรี ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง กระทรวงโฆษณาก็ถูกตั้งขึ้นมาอีกครั้งเพื่อวางแผนทำสงครามจิตวิทยาทั้งในและ นอกประเทศ ต่อมาพอสงครามโลกสิ้นสุดลง กระทรวงดังกล่าวก็ถูกยุบเลิกไป และก็เปลี่ยนมาเป็นสำนักข่าวสารกลาง ซึ่งรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล
                        จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ทั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาและ ประเทศอังกฤษ มาจากการนำไปใช้เป็นเครื่องมือเผยแพร่ข่าวสาร ปลุกเร้าประชามติ เพื่อเรียกร้องความร่วมมือในการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศสหรัฐอเมริกานับได้ว่าเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำเนิดการประชา สัมพันธ์สมัยใหม่อย่างแท้จริง
                        ถ้าจะพิจารณาแล้ววิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ เป็นผลมาจากการทำสงคราม เช่น สงครามกู้อิสระภาพ สงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา และรวมไปถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914 - ค.ศ. 1918) และสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) ซึ่งการประชาสัมพันธ์ได้เข้าไปมีบทบาท เช่น ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีการตั้งคณะกรรมการประชานิเทศ (Committee on Public Information) เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ แก่ประชาชนในยามสงคราม การดำเนินงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นเน้นไปทาง ด้านการใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ทางด้านก่อ และใช้เทคนิคทางด้านการโฆษณาและโฆษณาชวนเชื่อเข้าร่วมด้วย สงครามโลกสิ้นสุดลง เอ็ดเวอร์ด แอล เบอร์เนส์ (Edward L. Bernays) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในกระทรวงการประชานิเทศได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการประชา สัมพันธ์เล่มแรกขึ้น และหลังจากนั้นได้รับเชิญเป็นอาจารย์สอนวิชาการประชาสัมพันธ์เป็นครั้งแรกใน สถาบันระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยแห่งนิวยอร์ค สำหรับในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้ง “สำนักงานข่าวสารสงคราม” (Office of War Information) โดยปฏิบัติงานด้านการรณรงค์ข่าวสารทั้งทางด้านกองทัพ ทางทหาร ธุรกิจ    อุตสาหกรรม และกลุ่มสัมพันธมิตรร่วมสงคราม จนประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะในที่สุด


ประวัติและพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย
               การประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยอันได้แก่ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ทำให้ทราบว่าการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการบันทึกเพื่อการประชาสัมพันธ์ว่าอาณาจักรสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์ไป ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ประชาชนมีอิสระเสรีในการทำมาหากิน มีสิทธิและเสรีภาพ กษัตริย์ทรงปกครองประชาชนอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี ตลอดจนความรักใคร่กลมเกลียวกัน ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง ต่อมาเมื่อกรุงสุโขทัยเริ่มอ่อนแอลงพระเจ้าอู่ทองจึงได้ทรงสถาปนากรุง ศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 1892  มีการจัดการปกครองแบบจตุสดมภ์คือ เวียง วัง คลัง นา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชนเปลี่ยนไปไม่มีความสนิทสนมกัน การประชาสัมพันธ์ในยุคนี้ที่เห็นเด่นชัดคือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายกับต่างประเทศ และในอีกสมัยคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการใช้เทคนิคการประชาสัมพันธ์เข้ามาช่วยในการกอบกู้เอกราช โดยพระองค์ทรงปลุกจิตสำนึกกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรักชาติ และช่วยกันขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้พระองค์ก็ทรงออกเยี่ยมประชาชน เพื่อบำรุงขวัญประชาชน และเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศชาติอีกด้วย
                        สำหรับในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินก็มีการนำเทคนิคการประชาสัมพันธ์มาใช้เช่นกัน เพื่อบำรุงขวัญให้ประชาชนที่แตกกระจัดกระจายภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้ กับพม่าให้กลับเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรี โดยการออกเยี่ยมเยียนและเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบว่ากรุงธนบุรีมีความมั่นคง ปลอดภัย
                        สำหรับในสมัยรัตนโกสินทร์นี้นับได้ว่าการประชาสัมพันธ์ของประเทศไทยมี วิวัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่มีการนำเอาเครื่อง มือสื่อสารที่ทันสมัยหรือสื่อมวลชนเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการประชา สัมพันธ์ โดยเริ่มตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการนำเครื่องพิมพ์เข้ามาในประเทศไทยโดยนักสอนศาสนาคริสต์ชาวอเมริกันที่ ชื่อ เรเวอร์เรนต์ รอบินสัน และได้พิมพ์หนังสือสอนศาสนานับเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรกที่พิมพ์ขึ้นใน ประเทศไทย ต่อมานักสอนศาสนาชาวอเมริกันอีกผู้หนึ่งชื่อ ดร. แดน บีช แบรดลี่ย์ ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นและพิมพ์ประกาศของรัฐบาลไทยห้ามสูบและค้าฝิ่นในรูปของใบ ปลิว เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2382  นับเป็นเอกสารราชการที่พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จากนั้นอีกประมาณ 5 ปี ในปี พ.ศ. 2387  หมอแบรดลี่ย์ได้ทำหนังสือพิมพ์ข่าวภาษาไทยออกเป็นครั้งแรกเรียกว่า “บางกอกรีคอเดอร์” (Bangkok Recorder) โดยมีวาระการพิมพ์ที่ไม่แน่นอนอยู่ไม่ถึงปีหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็เลิกกิจการ ไป
                        ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2401  ได้ทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “โรงพิมพ์อักษรพิมพ์การ” และได้พิมพ์ประกาศของทางราชการ และหนังสือราชกิจจานุเบกษา (Government Gazette) ฉบับแรกขึ้นนับเป็นวารสารประชาสัมพันธ์ของทางราชการฉบับแรก และในระหว่างสมัยรัชกาลที่ 4 นี้ ได้มีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นอีกหลายฉบับ บางฉบับก็มีอายุยืนนาน แต่บางฉบับก็ล้มลุกคลุกคลานหายไปเรื่อยๆ
                        ต่อมาได้มีการใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ซึ่งวิทยุถือกำเนิดขึ้นในครั้งแรกตรงกับสมัยของรัชกาลที่ 7  โดยมีการปฐมฤกษ์ในวันเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระราชดำรัสปราศรัยแก่ประชาชนชาวไทย และเมื่อประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้มีการตั้งกองการโฆษณาขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานโฆษณาการ โดยทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้เรื่องการปกครองและนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนเป็นการป้องกันแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรัฐบาลและประชาชนโดยส่วน รวม ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2483  ได้เปลี่ยนชื่อสำนักงานโฆษณาการเป็นกรมการโฆษณาการ และเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495  ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์จนถึงปัจจุบัน
                        ถ้าจะพิจารณาแล้วในการประชาสัมพันธ์นั้น วิทยุกระจายเสียงนับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่ง เพราะวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่ใกล้ชิดกับผู้นำและเข้าถึงประชาชนได้ดี สะดวกรวดเร็วทันกับเหตุการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานของรัฐ นิยมใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน
 
                        สาเหตุของการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ ทั้งการพัฒนาในประเทศไทยและในต่างประเทศแล้ว   การพัฒนาการประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังเริ่มขึ้นในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยได้มีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ทั้งนี้มีพื้นฐานมาจากสำนักงานตัวแทนหนังสือพิมพ์ (Press Agentry) การรณรงค์การเมือง (Political Campaign) การดำเนินงานของหน่วยงานธุรกิจ (Business Practices) และกิจกรรมด้านอื่นๆ (Other Activities) (วิรัช  ลภิรัตนกุล : 2540 : 110-117)
                        1)    สำนักงานตัวแทนหนังสือพิมพ์ คือสำนักงานที่รับจ้างบริษัทต่างๆ เขียนบทความเพื่อส่งไปลงหนังสือพิมพ์ต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่กิจการและความเคลื่อนไหวในหน่วยงานบริษัทให้ประชาชนทั่ว ไปได้รับทราบ ซึ่งในระยะต่อๆ มา สำนักงานตัวแทนหนังสือพิมพ์ หรือธุรกิจ Press Agentry ได้พัฒนามาเป็นบริษัทสำนักที่ปรึกษาและให้บริการด้านการประชาสัมพันธ์
                        2)    การรณรงค์ทางการเมือง การประชาสัมพันธ์ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือการรณรงค์ทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้นำเอาประชาสัมพันธ์มาใช้เพื่อการ รณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดี เช่น แอนดรู  แจคสัน (Andrew Jackson) ได้แต่งตั้ง   อามอส  เคนดัลล์ (Amos Kendall) เป็นเลขานุการฝ่ายสื่อมวลชนของประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นผู้สำรวจประชามติ วิเคราะห์ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ตลอดจนร่างสุนทรพจน์ รายงานต่างๆ ให้ประธานาธิบดี และนอกจากนี้ยังมีประธานาธิบดีหลายท่านของสหรัฐอเมริกา เช่น แฟรงคิน  ดี รุสเวลท์  ไอเชนฮา และจอห์น เอฟ เคเนดี้ ได้ใช้เครื่องมือสื่อสารหลายชนิดในการสร้างความนิยมทางการเมืองและความก้าว หน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
                        3)    การดำเนินงานของหน่วยงานธุรกิจ  ในช่วงระยะปี ค.ศ. 1875-1900 นับเป็นช่วงเวลาที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นธุรกิจการค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ เจริญก้าวหน้ารวมทั้งมีอิทธิพลต่อการครองชีพของประชาชน บริษัทธุรกิจจึงได้เริ่มใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างความนิยมและชื่อเสียงเกียรติคุณแก่หน่วยงาน โดยในระยะแรกได้ว่าจ้างนักหนังสือพิมพ์เข้ามาดำเนินการให้ ต่อมาแผนกประชาสัมพันธ์ของบริษัทธุรกิจได้ถูกจัดตั้งขึ้น และในปัจจุบันบริษัทธุรกิจต่างๆ มีแผนกประชาสัมพันธ์เป็นของตนเองแทบทั้งสิ้น บางแห่งไม่มีการจัดตั้งเป็นแผนกๆ ขึ้นในบริษัท แต่ก็ใช้วิธีการว่าจ้างให้สำนักงานที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ หรือบริษัทรับจ้างทำประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการให้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การดำเนินงานของหน่วยงานธุรกิจจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การประชาสัมพันธ์ เจริญรุดหน้าขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาแต่เดิมในอดีต ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเป็นต้นกำเนิดการประชาสัมพันธ์ธุรกิจและได้แพร่หลายไป ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
                        4)    กิจกรรมด้านอื่นๆ ในระหว่างสงครามการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำเอาการประชา สัมพันธ์มาใช้ในการรณรงค์หาทุน หรือแม้กระทั่งการรณรงค์เพื่อกิจการสาธารณสุข ดังจะเห็นได้จากในปี ค.ศ. 1855  สมาคมการแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาได้มีมติให้ให้เลขานุการสมาคมฯ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆแก่นักข่าวหนังสือพิมพ์ มีการสร้างสื่อมวลชนสัมพันธ์ และนับได้ว่าการประชาสัมพันธ์ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่ง
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

ปอ
ขอบคุณคร้าบ 
 
ปอ [223.206.120.xxx] เมื่อ 29/06/2012 11:45
2
อ้างอิง

ิดด้เด
 
ิดด้เด [183.89.130.xxx] เมื่อ 23/06/2013 21:35
3
อ้างอิง

Joy
warehouse for lease warehouse for lease warehouse for lease Miami warehouse for lease Miami warehouse for lease Miami warehouse for lease find homes for sale how to get real estate leads craftsman style homes for sale Charleston real estate historic homes for sale Commercial Real Estate For Sale | Warehouses For Sale Miami | Warehouse Space | Commerical Real Estate For Sale | Commercial Realtors | Warehouse For Lease | Comercial Real Estate For Sale | Commercial Realtors | Commercial Real Estate Agents | Commercial Mortgage Rates | Commercial Properties | Office Space For Lease | Miami Dade Commercial Real Estate | Hotel Brokers | Commerical Real Estate | Commercial Real Estate Listings | Commercial Real Estate Miami | Commercial Realtor | Office Space For Sale | Comercial Property | Hotel Brokers | Commercial Office Buildings For Sale | Office Space | Warehouse For Sale Miami | Commercial Warehouse For Sale | Warehouse Listings | Commercial Property | | Office Building For Sale | Commercial Real Estate Miami Fl | Hotel Broker | Office Buildings For Sale | Hotel Motels For Sale | commercial real estate companies | Lease Office | Office Building | Commercial Real Estate Miami Florida | Commercialrealestate | Office Building For Lease | Commercial Real Estate For Sale | Miami Dade Commercial Real Estate | Commercial Real Estate For Sale | Commercial Mortgage | Miami Commercial Real Estate | Commercial Real Estate Brokers Miami Fl | Warehouse For Lease | Warehouse For Sale | Shopping Center For Sale | Office Buildings For Sale | Commercial Real Estate Miami Fl | Commercal Property For Sale | Commercial Properties| Warehouse For Sale | Commercial Property | Commercial Real Estate Mortgage | Warehouse For Sale In Miami Florida | Doral Florida Commercial Real Estate | Office Buildings | Commercial Real Estate Miami Florida | Commercial Real Estate Brokers | Commerial Real Estate | Miami Office Buildings | Commercial Realtor | Commercial Office Building | Warehouses For Sale | Warehousing | Commercial Properties | Commercial Real Estate | Commercial Real Estate Broker | Hotels For Sale | Office Space Miami Florida | Office For Rent | Commercial Real Estate Miami | Miami Warehouse Space | Comercial Property For Sale | Commercial Real Estate Miami Fl | Commercial Real Estate Loan | Comercial Property | Commercial Real Estate Broker Miami | Warehouses For Sale | Miami Commercial Real Estate Broker | Buy Hotel | Office Building Sale | Commercial Real Estate Mls | Commercial Mls | Commercial Property For Sale | Miami Warehouses For Lease | Warehouses For Sale Miami | Industrial Property | Commercial Property For Sale | Hotel For Sale | Commercial Property Brokers | Miami Commercial Real Estate For Sale | Commercial Real Estate Brokers | Office Building Miami | Commercial Real Estate Search | Hotel For Sale | Commercial Mortgage Interest Rates | Commercial Real Estate Miami | Office Space Miami | Miami Commercial Realtors | Offices For Sale | Miami Commercial Real Estate | Office Building For Sale | Office Building For Sale | Office Building For Rent | Search Commercial Real Estate | Commercialrealestate | Commercial Real Estate Listing | Warehouses For Sale In Miami | Office Space For Rent | Commercial Office Space | Offices For Lease | Warehouse In Miami | Motel For Sale | Commercial Real Estate Mortgage | Warehouse For Sale Miami | Warehousing | Office Space For Rent Miami | Commercial Real Estate Agents | Buildings For Sale | Commercial Real Estate Company | Commercial Real Estate Agents | Commerical Real Estate For Sale | Miami Commercial Real Estate Broker | Office Space For Rent Miami | Warehouses For Sale | Commercial Real Estate Broker | Commercial Real Estate Brokers | Commercial Real Estate Companies | Office Space | Commerical Real Estate Companies | Miami Warehouse Space | Commercial Mortgage | Commercial Property | Commercial Real Estate Miami | Commercial Real Estate Broker | Commercial Real Estate Companies | Warehouse For Lease | Office Building For Lease | Warehouses For Sale Miami | Miami Warehouses | Warehouse For Lease | Commercial Property | Commercial Real Estate In Miami | Miami Commercial Realtors | Motel For Sale | Commercail Real Estate | Office Buildings | Office Space For Lease | Commercial Realtors | Commercial Real Estate Interest Rate | Commercial Building For Sale | Commerical Real Estate Listings | Commercial Real Estate Brokers | Commercial Realtors | Commercial Real Estate Miami Fl | Miami Warehouse | Commercial Real Estate Agent | Doral Commercial Real Estate | Commercial Real Estate Agent
 
Joy [68.202.141.xxx] เมื่อ 18/03/2019 20:47
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :